วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ข่าวความปลอดภัย กรณีเหตุการณ์เพลิงไหม้ บริษัท ศรีไทย ฯ เมื่อ 15 มิ.ย. 53
เมื่อเวลา 03.00 น.วันที่ 15 มิ.ย. 53 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองชลบุรีรับแจ้งเกิดเหตุเพลิงไหม้โกดังเม็ดพลาสติกของบริษัทศรีไทย ซุปเปอร์แวร์จำกัด บริเวณ ถ.บางนา-ตราด กม.57 ภายในนิคมอมตนคร จ.ชลบุรี
Safety Week ครั้งที่ 24 วันที่ 8-10 กรกฎาคม 2553
สำหรับเพื่อน ๆที่อยูในแวดวงความปลอดภัย คงไม่พลาดงานความปลอดภัย งานใหญ่ของเมืองไทย นะครับงานที่ผมพูดถึงก็คืองาน สัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ก็เป็นการจัดงานครั้งที่ 24 ของเมืองไทย งานในครั้งนี้แม่งานคือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นงานที่รวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเอาไว้ในงานเดียว งานนี้คุ้มแน่นอนครับ สำหรับ จป.วิชาชีพ คปอ. หรือ เพื่อนพนักงาน นักเรียน นักศึกษาผู้สนใจ เข้ามาชมงานความปลอดภัยครั้งนี้รับรองไม่ผิดหวังแน่นอน
กำหนดการจัดงาน จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน( ข้อมูลจาก www.shawpat.or.th)
วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553
โครงการอนุรักษ์การได้ยิน
โครงการอนุรักษ์การได้ยิน SCMP 1 และ SCMP 2
*ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553
หลักการและเหตุผล
จากการสำรวจด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม โดยการวัดระดับความดังเสียง พบว่า สถานที่ทำงานบางจุดมีระดับความดังเสียงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการได้ยิน และสุขภาพจิตของพนักงาน ถึงแม้ว่าระดับเสียงดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม หมวด 3 เรื่อง เสียง แล้วไม่เกินกว่าที่กำหนดก็ตาม แต่ระดับเสียงในบางพื้นที่ สูงเกินกว่า 85 เดซิเบลเอ และให้เป็นไปตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553 จึงควรจัดให้มีการดำเนินโครงการอนุรักษ์การได้ยินเพื่อเป็นการเฝ้าระวังทางการแพทย์ และเพื่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานที่ทำงานในบริเวณที่มีเสียงดัง ในโรงงาน SCMP 1 และ SCMP 2
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานทราบและตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน
2. เพื่อให้พนักงานได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมป้องกันโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
3. เพื่อลดจำนวนผู้ที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินรายใหม่
กลุ่มเป้าหมาย
- พนักงานทั้งหมดที่ต้องปฏิบัติงานสัมผัสกับเสียงดัง ในพื้นที่ ห้องบด และ โรงฉีดพลาสติก และส่วนอื่นของโรงงาน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการระยะยาวจึงต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการค่อนข้างมาก ระยะเวลาจึงสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมและควรมีการติดตามผลเป็นระยะ ๆ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ SCMP 1
1. นายอาณัติ คำสม Safety officer SCMP1
2. นายสุวิทย์ ลีรัตน์ เจ้าหน้าที่พัฒนาระบบ SCMP1
3.คณะกรรมการความปลอดภัย SCMP 1
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ SCMP 2
1. นางสาว กรรณิการ์ สุดสม Safety officer SCMP2
2. คณะกรรมการความปลอดภัย SCMP 2
รายละเอียดโครงการ
ขั้นตอนการดำเนินงานมีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดนโยบาย การอนุรักษ์การได้ยิน ของบริษัท ฯ
1.1 บริษัทต้องทำการกำหนดนโยบายที่จะจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน โดยเขียนนโยบายออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
1.2 ต้องทำการประกาศนโยบายให้เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน และลงมือปฏิบัติจริง
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดบริเวณ พื้นที่การเฝ้าระวังเสียงดัง ( Noise Monitoring ) และ การเฝ้าระวังการได้ยิน ( Hearing Monitoring )
2.1 การกำหนดบริเวณที่เสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน
2.1.1 การเฝ้าระวังเสียงดัง โดยการสำรวจและตรวจวัดระดับเสียง การศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง และการประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจ้าง ในบริษัท ฯ แล้วแจ้งให้พนักงานทราบ
2.1.2 การกำหนด Hazardous Noise Areas ซึ่งได้แก่บริเวณที่เข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1) ค่า Leq สูงกว่า 85 เดซิเบล (เอ)
2) ค่า Short intermittent noise สูงกว่า 115 เดซิเบล (เอ)
3) ค่าสูงสุดของเสียงกระแทกสูงกว่า 140 เดซิเบล (เอ)
2.2 การศึกษาการสัมผัสเสียงของคนงาน
2.2.1 การตรวจวัดเสียงอย่างละเอียดในบริเวณที่เสี่ยงต่อการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน
2.2.2 การศึกษาระยะเวลาที่ผู้ปฏิบัติงานต้องสัมผัสเสียงในระดับความดัง ณ จุดที่ทำงาน
ต่างๆ
2.2.3 จากข้อ 2.2.1 และ 2.2.2 ทราบปริมาณเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ ซึ่งสามารถเทียบกับมาตรฐานหรือกฎหมายได้ว่าเกินกว่าที่กำหนดหรือไม่ ข้อมูลนี้ยังช่วยในเรื่องการลดระยะเวลาสัมผัสเสียงเพื่อป้องกันการสูญเสียการได้ยิน
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดมาตรการหรือวิธีการควบคุมเสียงดัง และหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง
3.1 มาตรการสำคัญที่ใช้ในการควบคุมเสียง ได้แก่ มาตรการด้านวิศวกรรม มาตรการด้านการบริหารจัดการ และมาตรการด้านการแพทย์
3.2 ตัวอย่างมาตรการด้านวิศวกรรม เช่น การปิดล้อมแหล่งกำเนิดเสียง การกั้นระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงกับพนักงาน การลดความสั่นสะเทือนที่แหล่งกำเนิดเสียง เป็นต้น
3.3 ตัวอย่างมาตรการด้านการบริหารจัดการ เช่น การหมุนเวียนการทำงานในที่ที่มีเสียงดัง การใช้ที่อุดหูหรือครอบหู เป็นต้น
3.4 ตัวอย่างมาตรการด้านการแพทย์ เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน เป็นต้น
3.5 ในกรณีที่มีมาตรการหรือวิธีการควบคุมเสียงดังหลายๆ มาตรการหรือวิธีการ จะต้องจัดลำดับความสำคัญ เพื่อจะได้มาตรการหรือวิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งเกณฑ์ที่ควรคำนึงถึงคือ ผลของการป้องกันอันตรายต่อการได้ยิน (ลดเสียงได้เท่าไร) ค่าใช้จ่าย ความเป็นได้ทางเทคนิค และจำนวนคนที่จะได้รับผลการควบคุมเสียง
3.6 พิจารณานำมาตรการหรือวิธีการข้างต้นไปใช้ที่ Source Path และ Receiver
ขั้นตอนที่ 4 การใช้ที่ครอบหูหรือที่อุดหูลดเสียง
4.1 ในทางปฏิบัติแล้วการควบคุมด้วยมาตรการด้านวิศวกรรม อาจต้องใช้เงินทุนสูงหรืออาจไม่ได้นำมาใช้ในระยะที่ต้องการเร่งด่วนทำการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน ดังนั้นจงมีความจำเป็นที่ต้องใช้ที่ครอบหูหรือที่อุดหูตามความเหมาะสม
4.2 สิ่งที่สำคัญคือ ต้องเลือกใช้ที่อุดหูหรือครอบหูที่มีคุณสมบัติในการลดเสียงที่เกิดขึ้น ต้องสวมใส่ตลอดเวลาที่สัมผัสกับเสียงดังและต้องให้ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ดังกล่าว
ขั้นตอนที่ 5 การตรวจสมรรถภาพการได้ยินของพนักงาน
5.1 ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน พนักงานที่สัมผัสเสียงดัง
1) ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน ( Audiometric Testing ) แก่พนักงานที่สัมผัสเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป และให้ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2) แจ้งผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินให้พนักงานรับทราบภายใน 7 วัน นับตั้งแต่บริษัท ฯ ทราบผลการทดสอบ
3) ให้มีการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ำอีกครั้งภายใน 30 วัน นับตั้งแต่บริษัท ฯ ทราบว่าผลการทดสอบการได้ยินของพนักงานผิดปกติ
5.2 เกณฑ์การพิจารณาผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของ บริษัท ฯ ( อ้างอิงตามกฎหมาย )
1) ใช้ผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งแรกของพนักงานที่ความถี่ 500 1000 2000 3000 4000 และ 6000 เฮิรตซ์ ของหูทั้ง 2 ข้างเป็นข้อมูลพื้นฐาน ( Baseline Audiogram )
2) ให้นำผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งต่อไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทุกครั้ง
ขั้นตอนที่ 6 การจูงใจ การอบรม และการให้ความรู้
6.1 ให้บริษัท ฯ จัดให้มีการอบรม ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุมป้องกัน การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล แก่พนักงานที่ทำงานในบริเวณที่มีระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ
6.2 หัวข้อที่ควรอบรม ได้แก่ นโยบายการอนุรักษ์การได้ยินของโรงงาน หูและการได้ยิน ชนิดของการสูญเสียการได้ยิน การตรวจการได้ยิน การประเมินและการควบคุมเสียง อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียงต่อการได้ยิน และกฎหมาย
ขั้นตอนที่ 7 ประเมินผล และทบทวนโครงการอนุรักษ์การได้ยิน / การจัดเก็บข้อมูล
7.1 ข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1-7 ให้จัดทำบันทึกข้อมูล พร้อมจัดทำเอกสาร การดำเนินงาน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553 เก็บไว้ที่สถานประกอบกิจการอย่างน้อย 5 ปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้
7.2 ข้อมูลที่จัดเก็บควรเป็นข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อการจัดการด้านมลพิษทางเสียง เช่น OSHA กำหนดว่าข้อมูลผลการตรวจวัดการได้ยินต้องประกอบด้วยชื่อผู้ปฏิบัติงาน งานที่ทำ วัน/เวลาที่ทำการตรวจวัด ผู้ทำการตรวจวัด วันสุดท้ายของการตรวจวัดความถูกต้องของเครื่องมือตรวจการได้ยิน ผลการตรวจวัดเสียงในห้องตรวจการได้ยินและที่ที่ผู้ปฏิบัติต้องสัมผัสกับเสียงดัง เป็นต้น
7.3 ให้มีการทบทวนและประเมินผลการจดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง ตามกฎหมาย
แนวทางการประเมินผล
1.จำนวนคนงานที่ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ Ear plugs และ Ear muffs มีเพิ่มขึ้นหรือไม่
2.จำนวนผู้ที่ประสบอันตรายใหม่เกี่ยวกับการได้ยินลดลงหรือไม่
3.การทดสอบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้บริหารรวมถึงพนักงาน ได้ทราบและตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงานในบริเวณที่มีเสียงดัง
2. พนักงานสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องในการทำงานในบริเวณที่มีเสียงดัง
3. ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของพนักงานที่ประสบปัญหาการได้ยิน
4. เป็นการสร้างเสริมทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน
……………………………………….. ผู้เสนอโครงการ
( นายอาณัติ คำสม )
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ SCMP 1
……………………………………….. ผู้เสนอโครงการ
(นางสาว กรรณิการ์ สุดสม )
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ SCMP 2
*ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553
หลักการและเหตุผล
จากการสำรวจด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม โดยการวัดระดับความดังเสียง พบว่า สถานที่ทำงานบางจุดมีระดับความดังเสียงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการได้ยิน และสุขภาพจิตของพนักงาน ถึงแม้ว่าระดับเสียงดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม หมวด 3 เรื่อง เสียง แล้วไม่เกินกว่าที่กำหนดก็ตาม แต่ระดับเสียงในบางพื้นที่ สูงเกินกว่า 85 เดซิเบลเอ และให้เป็นไปตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553 จึงควรจัดให้มีการดำเนินโครงการอนุรักษ์การได้ยินเพื่อเป็นการเฝ้าระวังทางการแพทย์ และเพื่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานที่ทำงานในบริเวณที่มีเสียงดัง ในโรงงาน SCMP 1 และ SCMP 2
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานทราบและตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน
2. เพื่อให้พนักงานได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมป้องกันโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
3. เพื่อลดจำนวนผู้ที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินรายใหม่
กลุ่มเป้าหมาย
- พนักงานทั้งหมดที่ต้องปฏิบัติงานสัมผัสกับเสียงดัง ในพื้นที่ ห้องบด และ โรงฉีดพลาสติก และส่วนอื่นของโรงงาน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการระยะยาวจึงต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการค่อนข้างมาก ระยะเวลาจึงสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมและควรมีการติดตามผลเป็นระยะ ๆ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ SCMP 1
1. นายอาณัติ คำสม Safety officer SCMP1
2. นายสุวิทย์ ลีรัตน์ เจ้าหน้าที่พัฒนาระบบ SCMP1
3.คณะกรรมการความปลอดภัย SCMP 1
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ SCMP 2
1. นางสาว กรรณิการ์ สุดสม Safety officer SCMP2
2. คณะกรรมการความปลอดภัย SCMP 2
รายละเอียดโครงการ
ขั้นตอนการดำเนินงานมีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดนโยบาย การอนุรักษ์การได้ยิน ของบริษัท ฯ
1.1 บริษัทต้องทำการกำหนดนโยบายที่จะจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน โดยเขียนนโยบายออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
1.2 ต้องทำการประกาศนโยบายให้เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน และลงมือปฏิบัติจริง
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดบริเวณ พื้นที่การเฝ้าระวังเสียงดัง ( Noise Monitoring ) และ การเฝ้าระวังการได้ยิน ( Hearing Monitoring )
2.1 การกำหนดบริเวณที่เสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน
2.1.1 การเฝ้าระวังเสียงดัง โดยการสำรวจและตรวจวัดระดับเสียง การศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง และการประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจ้าง ในบริษัท ฯ แล้วแจ้งให้พนักงานทราบ
2.1.2 การกำหนด Hazardous Noise Areas ซึ่งได้แก่บริเวณที่เข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1) ค่า Leq สูงกว่า 85 เดซิเบล (เอ)
2) ค่า Short intermittent noise สูงกว่า 115 เดซิเบล (เอ)
3) ค่าสูงสุดของเสียงกระแทกสูงกว่า 140 เดซิเบล (เอ)
2.2 การศึกษาการสัมผัสเสียงของคนงาน
2.2.1 การตรวจวัดเสียงอย่างละเอียดในบริเวณที่เสี่ยงต่อการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน
2.2.2 การศึกษาระยะเวลาที่ผู้ปฏิบัติงานต้องสัมผัสเสียงในระดับความดัง ณ จุดที่ทำงาน
ต่างๆ
2.2.3 จากข้อ 2.2.1 และ 2.2.2 ทราบปริมาณเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ ซึ่งสามารถเทียบกับมาตรฐานหรือกฎหมายได้ว่าเกินกว่าที่กำหนดหรือไม่ ข้อมูลนี้ยังช่วยในเรื่องการลดระยะเวลาสัมผัสเสียงเพื่อป้องกันการสูญเสียการได้ยิน
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดมาตรการหรือวิธีการควบคุมเสียงดัง และหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง
3.1 มาตรการสำคัญที่ใช้ในการควบคุมเสียง ได้แก่ มาตรการด้านวิศวกรรม มาตรการด้านการบริหารจัดการ และมาตรการด้านการแพทย์
3.2 ตัวอย่างมาตรการด้านวิศวกรรม เช่น การปิดล้อมแหล่งกำเนิดเสียง การกั้นระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงกับพนักงาน การลดความสั่นสะเทือนที่แหล่งกำเนิดเสียง เป็นต้น
3.3 ตัวอย่างมาตรการด้านการบริหารจัดการ เช่น การหมุนเวียนการทำงานในที่ที่มีเสียงดัง การใช้ที่อุดหูหรือครอบหู เป็นต้น
3.4 ตัวอย่างมาตรการด้านการแพทย์ เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน เป็นต้น
3.5 ในกรณีที่มีมาตรการหรือวิธีการควบคุมเสียงดังหลายๆ มาตรการหรือวิธีการ จะต้องจัดลำดับความสำคัญ เพื่อจะได้มาตรการหรือวิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งเกณฑ์ที่ควรคำนึงถึงคือ ผลของการป้องกันอันตรายต่อการได้ยิน (ลดเสียงได้เท่าไร) ค่าใช้จ่าย ความเป็นได้ทางเทคนิค และจำนวนคนที่จะได้รับผลการควบคุมเสียง
3.6 พิจารณานำมาตรการหรือวิธีการข้างต้นไปใช้ที่ Source Path และ Receiver
ขั้นตอนที่ 4 การใช้ที่ครอบหูหรือที่อุดหูลดเสียง
4.1 ในทางปฏิบัติแล้วการควบคุมด้วยมาตรการด้านวิศวกรรม อาจต้องใช้เงินทุนสูงหรืออาจไม่ได้นำมาใช้ในระยะที่ต้องการเร่งด่วนทำการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน ดังนั้นจงมีความจำเป็นที่ต้องใช้ที่ครอบหูหรือที่อุดหูตามความเหมาะสม
4.2 สิ่งที่สำคัญคือ ต้องเลือกใช้ที่อุดหูหรือครอบหูที่มีคุณสมบัติในการลดเสียงที่เกิดขึ้น ต้องสวมใส่ตลอดเวลาที่สัมผัสกับเสียงดังและต้องให้ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ดังกล่าว
ขั้นตอนที่ 5 การตรวจสมรรถภาพการได้ยินของพนักงาน
5.1 ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน พนักงานที่สัมผัสเสียงดัง
1) ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน ( Audiometric Testing ) แก่พนักงานที่สัมผัสเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป และให้ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2) แจ้งผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินให้พนักงานรับทราบภายใน 7 วัน นับตั้งแต่บริษัท ฯ ทราบผลการทดสอบ
3) ให้มีการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ำอีกครั้งภายใน 30 วัน นับตั้งแต่บริษัท ฯ ทราบว่าผลการทดสอบการได้ยินของพนักงานผิดปกติ
5.2 เกณฑ์การพิจารณาผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของ บริษัท ฯ ( อ้างอิงตามกฎหมาย )
1) ใช้ผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งแรกของพนักงานที่ความถี่ 500 1000 2000 3000 4000 และ 6000 เฮิรตซ์ ของหูทั้ง 2 ข้างเป็นข้อมูลพื้นฐาน ( Baseline Audiogram )
2) ให้นำผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งต่อไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทุกครั้ง
ขั้นตอนที่ 6 การจูงใจ การอบรม และการให้ความรู้
6.1 ให้บริษัท ฯ จัดให้มีการอบรม ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุมป้องกัน การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล แก่พนักงานที่ทำงานในบริเวณที่มีระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ
6.2 หัวข้อที่ควรอบรม ได้แก่ นโยบายการอนุรักษ์การได้ยินของโรงงาน หูและการได้ยิน ชนิดของการสูญเสียการได้ยิน การตรวจการได้ยิน การประเมินและการควบคุมเสียง อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียงต่อการได้ยิน และกฎหมาย
ขั้นตอนที่ 7 ประเมินผล และทบทวนโครงการอนุรักษ์การได้ยิน / การจัดเก็บข้อมูล
7.1 ข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1-7 ให้จัดทำบันทึกข้อมูล พร้อมจัดทำเอกสาร การดำเนินงาน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553 เก็บไว้ที่สถานประกอบกิจการอย่างน้อย 5 ปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้
7.2 ข้อมูลที่จัดเก็บควรเป็นข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อการจัดการด้านมลพิษทางเสียง เช่น OSHA กำหนดว่าข้อมูลผลการตรวจวัดการได้ยินต้องประกอบด้วยชื่อผู้ปฏิบัติงาน งานที่ทำ วัน/เวลาที่ทำการตรวจวัด ผู้ทำการตรวจวัด วันสุดท้ายของการตรวจวัดความถูกต้องของเครื่องมือตรวจการได้ยิน ผลการตรวจวัดเสียงในห้องตรวจการได้ยินและที่ที่ผู้ปฏิบัติต้องสัมผัสกับเสียงดัง เป็นต้น
7.3 ให้มีการทบทวนและประเมินผลการจดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง ตามกฎหมาย
แนวทางการประเมินผล
1.จำนวนคนงานที่ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ Ear plugs และ Ear muffs มีเพิ่มขึ้นหรือไม่
2.จำนวนผู้ที่ประสบอันตรายใหม่เกี่ยวกับการได้ยินลดลงหรือไม่
3.การทดสอบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมโดยใช้แบบสอบถาม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้บริหารรวมถึงพนักงาน ได้ทราบและตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงานในบริเวณที่มีเสียงดัง
2. พนักงานสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องในการทำงานในบริเวณที่มีเสียงดัง
3. ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของพนักงานที่ประสบปัญหาการได้ยิน
4. เป็นการสร้างเสริมทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน
……………………………………….. ผู้เสนอโครงการ
( นายอาณัติ คำสม )
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ SCMP 1
……………………………………….. ผู้เสนอโครงการ
(นางสาว กรรณิการ์ สุดสม )
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ SCMP 2
วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553
Audit CCCF โดย IAT ( 1 )
การตรวจ Audit จาก IAT สิ่งที่ต้องเตรียม ตาม Check List มีดังนี้
1. Accident Record
- มีการคิด IFR ปี 2010(เดือน Jan - Nov ) เทียบกับปี 2009 ในช่วงเดือนเดียวกัน และเทียบค่า IFR เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิม
2. Safety Policy & Organization
2.1) Safety Policy
- มี Policy CCCF ที่ทางแยกออกมาเฉพาะเรื่อง CCCF หรือรวมกับ Policy ของบริษัท [อย่างใดอย่างหนึ่ง] และต้องมีคำว่า CCCF เขียนไว้
- ใน Policy จะต้องเซ็นอนุมัติโดยผู้บริหารที่มีอำนาจสูงสุดใน Plant นั้น
- การประกาศให้กับพนักงานทุกคนทราบโดยทั่วถึงทั้งโรงงาน
2.2) Safety Organization
- CCCF Organization มี chairman เป็นระดับ President หรือ Top management
- มี Job responsible สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง ใน organize ชัดเจน
2.3) Identify Hazard by All Operator
- มีแผนการทำกิจกรรม CCCF โดยมีรอบการทำกิจกรรม ในแต่ละปีต้องทำ 2 ครั้ง/ปี ขึ้นไป
3. CCCF Safety Activity Master Plan
3.1) Completeness of safety schedule.
1. แผนการทำกิจกรรม CCCF ครอบคลุมทุกพื้นที่
2. มีการค้นหาอันตรายโดยใช้ Form A
3. ประเมิน Rank A , B , C และกำหนดการแก้ไข
4. มี Safety Patrol.
3.2) Scope of activity.
- มีการทำกิจกรรม CCCF สำหรับทุกพื้นที่ รวมถึง Office, งานแผนก Maintenance.
3.3) Safety patrol by Top management level up.
1.มีแผนการทำกิจกรรมเดินตรวจความปลอดภัย (Safety patrol) ประจำสัปดาห์, ประจำเดือน โดยมีผู้บริหารระดับ Top management เข้าร่วมทำกิจกรรมด้วย
2.มีรายงานการเดินตรวจ Safety
3.4) Progressive follow up by CCCF Chairman.
มีหลักฐานการปฏิบัติกิจกรรม CCCF และมีการติดตามผลการแก้ไขโดย CCCF Chairman รวมถึงมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมดังนี้ ;
- มีรายงานการประชุม (minute meeting report)
- มี Shedule ในการติดตามผลการแก้ไข
3.5) CCCF Activity extension. (2nd tier)
- มีแผนงานและผลการประเมินตามแผนงาน
มีต่อข้อ 4 - 6
1. Accident Record
- มีการคิด IFR ปี 2010(เดือน Jan - Nov ) เทียบกับปี 2009 ในช่วงเดือนเดียวกัน และเทียบค่า IFR เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิม
2. Safety Policy & Organization
2.1) Safety Policy
- มี Policy CCCF ที่ทางแยกออกมาเฉพาะเรื่อง CCCF หรือรวมกับ Policy ของบริษัท [อย่างใดอย่างหนึ่ง] และต้องมีคำว่า CCCF เขียนไว้
- ใน Policy จะต้องเซ็นอนุมัติโดยผู้บริหารที่มีอำนาจสูงสุดใน Plant นั้น
- การประกาศให้กับพนักงานทุกคนทราบโดยทั่วถึงทั้งโรงงาน
2.2) Safety Organization
- CCCF Organization มี chairman เป็นระดับ President หรือ Top management
- มี Job responsible สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง ใน organize ชัดเจน
2.3) Identify Hazard by All Operator
- มีแผนการทำกิจกรรม CCCF โดยมีรอบการทำกิจกรรม ในแต่ละปีต้องทำ 2 ครั้ง/ปี ขึ้นไป
3. CCCF Safety Activity Master Plan
3.1) Completeness of safety schedule.
1. แผนการทำกิจกรรม CCCF ครอบคลุมทุกพื้นที่
2. มีการค้นหาอันตรายโดยใช้ Form A
3. ประเมิน Rank A , B , C และกำหนดการแก้ไข
4. มี Safety Patrol.
3.2) Scope of activity.
- มีการทำกิจกรรม CCCF สำหรับทุกพื้นที่ รวมถึง Office, งานแผนก Maintenance.
3.3) Safety patrol by Top management level up.
1.มีแผนการทำกิจกรรมเดินตรวจความปลอดภัย (Safety patrol) ประจำสัปดาห์, ประจำเดือน โดยมีผู้บริหารระดับ Top management เข้าร่วมทำกิจกรรมด้วย
2.มีรายงานการเดินตรวจ Safety
3.4) Progressive follow up by CCCF Chairman.
มีหลักฐานการปฏิบัติกิจกรรม CCCF และมีการติดตามผลการแก้ไขโดย CCCF Chairman รวมถึงมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมดังนี้ ;
- มีรายงานการประชุม (minute meeting report)
- มี Shedule ในการติดตามผลการแก้ไข
3.5) CCCF Activity extension. (2nd tier)
- มีแผนงานและผลการประเมินตามแผนงาน
มีต่อข้อ 4 - 6
แผนการซ้อมกรณีแก๊ส LPG รั่วไหล บริเวณอาคารเก็บก๊าซ LPG
แผนการซ้อมกรณีแก๊ส LPG รั่วไหล บริเวณอาคารเก็บก๊าซ LPG
กำหนดซ้อม วันเสาร์ ที่ 22 พฤษภาคม 2553 เวลา 10.00 น.
เหตุการณ์สมมุติ
เกิดเหตุการณ์ แก๊ส LPG รั่วไหล เวลาประมาณ 10.00 น. พนักงานที่เห็นเหตุการณ์ คุณกัญญา ภูฆัง เจ้าหน้าที่เทคนิค แผนกวิศวกรรมได้กลิ่นแก๊ส LPG และเห็นสัญญาณแจ้งกรณีแก๊ส LPG รั่วไหล คุณกัญญา ได้แจ้งให้พนักงานในแผนกวิศวกรรมทราบพร้อมทั้งโทรแจ้งประชาสัมพันธ์ 10 และแจ้งให้หน่วยงานซ่อมบำรุงหยุดการทำงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟ
ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผน
1) คุณกัญญา ภูฆัง ได้กลิ่นแก๊ส LPG ที่รั่ว และเห็นสัญญาณแจ้งกรณีแก๊ส LPG รั่วไหล พร้อมตะโกนแจ้งให้เพื่อนพนักงานวิศวกรรมแจ้งประชาสัมพันธ์ กดเบอร์โทร 10
2) คุณกัญญา ภูฆัง แจ้งให้หน่วยงานซ่อมบำรุงระงับการทำงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟ
3)เจ้าหน้าที่สื่อสารภายใน ประกาศทางเสียงตามสาย “ ขอเชิญสมาชิกทีมระงับเหตุฉุกเฉิน 1 ที่ห้องก๊าซ LPG ”
4) เจ้าหน้าที่สื่อสารภายในโทรแจ้ง
- ผู้อำนวยการเหตุฉุกเฉิน
- หัวหน้าทีมระงับเหตุฉุกเฉิน
- หัวหน้าทีมปฐมพยาบาล
- เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
5)ทีมปฐมพยาบาล เตรียมพร้อมการปฐมพยาบาลบริเวณจุดปฐมพยาบาล กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน บริเวณจุดรวมพลฉุกเฉิน
6)หัวหน้าทีมควบคุมการจราจรและเคลื่อนย้าย เตรียมรถยนต์สำหรับส่งผู้ป่วยบริเวณทีมปฐมพยาบาล
พร้อมทั้งประสานงานการส่งต่อผู้ป่วยกับหน่วยงานภายนอก
7) ณ บริเวณที่เกิดเหตุ ผู้อำนวยการเหตุฉุกเฉิน ประเมินสถานการณ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทีม ERT และ จป.วิชาชีพ พบว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยทีม ERT เข้าระงับเหตุโดยปิดวาล์วถังแก๊ส LPG ที่รั่วไหล พร้อมควบคุมพื้นที่บริเวณโดยรอบโรงเก็บแก๊ส LPG ให้ปราศจากประกายไฟ
8) ผู้อำนวยการควบคุมเหตุฉุกเฉิน ประกาศแจ้งให้พนักงานทราบ สามารถระงับเหตุแก๊ส LPG รั่วได้
หมายเหตุ : กรณีไม่สามารถระงับเหตุได้เอง ผอ.ควบคุมเหตุฉุกเฉินจะใช้ แผนฉุกเฉินระดับที่ 2
แจ้งให้พนักงานอพยพไปรวมพลที่จุดรวมพลฉุกเฉินบริเวณสนามหญ้าด้านหน้าสำนักงาน โดยได้กำหนดทีมอพยพพร้อมเส้นทางหนีไฟดังนี้
พื้นที่ หัวหน้าทีมอพยพหนีไฟ ผู้ช่วยหัวหน้าทีมอพยพหนีไฟ สมาชิกในทีมอพยพหนีไฟ เส้นทางอพยพหนีไฟ
สำนักงาน คุณวงศ์วริศ คุณพรทิพย์ พนักงาน ,ผู้บริหาร ที่ปฏิบัติงานในสำนักงาน ประตูด้านหน้าสำนักงาน
ผลิต1 / ห้องบด คุณวีระพงศ์ คุณนิรุชา ,คุณปัญญา ,
คุณนิรัตน์ ,คุณภานุกูล ,คุณแววตา ,คุณเลย ผลิต 1 และห้องบด ประตูด้านข้างอาคารผลิต 1
ซ่อมบำรุง คุณสุภี คุณ ฤทธี ซ่อมบำรุง ประตูด้านข้างอาคารผลิต 1
โยธา คุณสุชาติ คุณไกรลาศ ห้องโยธา ทางออกด้านข้างอาคาร 1
แผนกควบคุมคุณภาพ คุณชัยมงคล คุณจักรกฤษ ,
คุณพวงมาลัย ห้อง QC ประตูทางออกห้อง QC
วางแผนการผลิต
ห้อง MIX คุณประเสริฐ คุณสนอง , คุณภูวดล ห้องบด และ ห้องMIX ประตูทางออกห้อง MIX และห้องบด
คลังสินค้า FG ( ซิลค์สกรีนเดิม ) คุณเฉลิมพงษ์ คุณประวัตร
คลังสินค้า FG ห้องซิลด์สกรีนเดิม ประตูทางออกคลังสินค้า FG ห้องซิลด์
สกรีนเดิม
ผลิต 2 พ่นสี คุณอุทิศ คุณมนูญ ห้องพ่นสี และ office
ผลิต2 ประตูทางออกห้องพ่น และทางออกอาคารผลิต 2
คลังวัตถุดิบ คุณศุภากร คุณสุวิสุทธิ์ คลังวัตถุดิบ ประตูทางออกคลังสินวัตถุดิบ
คลังสินค้า FG / line ประกอบ Panasonics คุณเฉลิมพงษ์ คุณ ประวัตร คลังสินค้า FG ประตูทางออกคลังสินค้า FG
วิศวกรรม คุณเอนก คุณเจนณรงค์ , คุณกัญญา พนักงานแผนกวิศวกรรม ประตูทางออกห้องวิศวกรรม
หมายเหตุ สมาชิกในทีมอพยพหนีไฟคือพนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่แผนกนั้น ๆ
หน้าที่ในทีมอพยพหนีไฟ
*หัวหน้าทีมอพยพหนีไฟ มีหน้าที่นำสมาชิกในทีมอพยพหนีไฟ อพยพตามเส้นทางหนีไฟที่กำหนด (ในกรณีเส้นทางหนีไฟที่กำหนด เกิดควันปกคลุมมาก ให้หัวหน้าทีมอพยพหนีไฟ ตัดสินใจใช้เส้นทางอพยพหนีไฟที่ปลอดภัยแทน )
*ผู้ช่วยหัวหน้าทีมอพยพหนีไฟ มีหน้าที่รั้งท้ายการอพยพหนีไฟ คอยให้ความช่วยเหลือเคลื่อนย้ายเพื่อนสมาชิกในทีมกรณีบาดเจ็บจากเหตุการณ์เพลิงไหม้
*สมาชิกในทีมอพยพหนีไฟ มีหน้าที่อพยพหนีไฟตามหัวหน้าทีมอพยพหนีไฟ และตามเส้นทางหนีไฟที่กำหนด
9)หลังจากอพยพไปรวมพลที่จุดรวมพลฉุกเฉิน เรียบร้อยให้หัวหน้างาน ตรวจเช็ครายชื่อพนักงานในแผนก โดยใช้ใบเช็คชื่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินที่ป้อมยาม เมื่อตรวจเช็คจำนวนพนักงานเรียบร้อยให้รายงานผลการตรวจเช็คต่อผู้อำนวยการเหตุฉุกเฉิน ทราบโดยแจ้งดังนี้
- จำนวนพนักงานในหน่วยงาน ครบหรือไม่
- รายงานจำนวนพนักงานที่บาดเจ็บ
10 ) เจ้าหน้าที่สื่อสารคอยรับคำสั่งจากผู้อำนวยการเหตุฉุกเฉิน เพื่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก ดังรายชื่อหน่วยงาน และเบอร์โทรศัพท์ตามตาราง
หมายเลขโทรศัพท์สถานที่ติดต่อและแจ้งเหตุฉุกเฉิน
รายละเอียด/สถานที่ เบอร์โทรศัพท์ กด โทรออก
แจ้งเหตุด่วน , เหตุร้าย 191 *001
แจ้งดับเพลิง 199 *002
สถานีตำรวจภูธร อ.บางพลี 02-7403211 , 02-7403271 , 02-7403274 ,
02-7403275 , 02-7403276 *003
*004
องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่
( ดับเพลิง ) 02-3373115 , 02-3373116 ต่อ 203 *005
*006
โรงพยาบาลบางพลี 02-7523895
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 1 02-3166198 , 023166199 *007 , *008
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 02-7389900 – 9
การไฟฟ้าบางพลี 02-3162400 , 02-3167583
การประปาพระโขนง 02-3310028 , 02-3110995 , 02-3110853 ,
02-3110818
จส.100 1137 หรือ 02-7119151-8
ผู้บริหาร / เจ้าหน้าที่ บริษัท สหะเจริญโลหะพลาสติกภัณฑ์ จำกัด
คุณอนุรักษ์ แสงเจริญวนากุล 081-8686484 *009
คุณพงษ์ศักดิ์ ศุภพิพัฒน์ 081-9059801 *010
คุณกมลทิพย์ วิมลประภาพร 081-6194382
คุณไมตรี ขวัญเจริญ 086-8850522 *011
11) ทีมปฐมพยาบาล ประสานงานกับทีมควบคุมการจราจรและเคลื่อนย้าย นำส่งผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ฉุกเฉิน ไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง
12) หัวหน้าทีมสื่อสารและประสานงาน เจ้าหน้าที่สื่อสารภายนอก ประจำ ณ จุดประชาสัมพันธ์กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน บริเวณโรงอาหาร
สำหรับเจ้าหน้าที่ท่านอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในแผนควบคุมภาวะฉุกเฉินกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ WE-MGT-004 และเอกสาร วิธีการปฏิบัติงานแผนระงับเหตุกรณีก๊าซ LPG รั่วไหล
WE-MGT-010
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ ....................................................... หัวหน้าวางแผนการผลิต
........................................................ หัวหน้าแผนกผลิต 1
......................................................... ผู้จัดการฝ่ายผลิต
......................................................... ผู้จัดการอาวุโส
........................................................ผู้อนุมัติแผนการฝึกซ้อมฯ
กรรมการผู้จัดการ
นายอาณัติ คำสม
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
แผนกบุคคลและธุรการ
กำหนดซ้อม วันเสาร์ ที่ 22 พฤษภาคม 2553 เวลา 10.00 น.
เหตุการณ์สมมุติ
เกิดเหตุการณ์ แก๊ส LPG รั่วไหล เวลาประมาณ 10.00 น. พนักงานที่เห็นเหตุการณ์ คุณกัญญา ภูฆัง เจ้าหน้าที่เทคนิค แผนกวิศวกรรมได้กลิ่นแก๊ส LPG และเห็นสัญญาณแจ้งกรณีแก๊ส LPG รั่วไหล คุณกัญญา ได้แจ้งให้พนักงานในแผนกวิศวกรรมทราบพร้อมทั้งโทรแจ้งประชาสัมพันธ์ 10 และแจ้งให้หน่วยงานซ่อมบำรุงหยุดการทำงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟ
ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผน
1) คุณกัญญา ภูฆัง ได้กลิ่นแก๊ส LPG ที่รั่ว และเห็นสัญญาณแจ้งกรณีแก๊ส LPG รั่วไหล พร้อมตะโกนแจ้งให้เพื่อนพนักงานวิศวกรรมแจ้งประชาสัมพันธ์ กดเบอร์โทร 10
2) คุณกัญญา ภูฆัง แจ้งให้หน่วยงานซ่อมบำรุงระงับการทำงานที่ก่อให้เกิดประกายไฟ
3)เจ้าหน้าที่สื่อสารภายใน ประกาศทางเสียงตามสาย “ ขอเชิญสมาชิกทีมระงับเหตุฉุกเฉิน 1 ที่ห้องก๊าซ LPG ”
4) เจ้าหน้าที่สื่อสารภายในโทรแจ้ง
- ผู้อำนวยการเหตุฉุกเฉิน
- หัวหน้าทีมระงับเหตุฉุกเฉิน
- หัวหน้าทีมปฐมพยาบาล
- เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
5)ทีมปฐมพยาบาล เตรียมพร้อมการปฐมพยาบาลบริเวณจุดปฐมพยาบาล กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน บริเวณจุดรวมพลฉุกเฉิน
6)หัวหน้าทีมควบคุมการจราจรและเคลื่อนย้าย เตรียมรถยนต์สำหรับส่งผู้ป่วยบริเวณทีมปฐมพยาบาล
พร้อมทั้งประสานงานการส่งต่อผู้ป่วยกับหน่วยงานภายนอก
7) ณ บริเวณที่เกิดเหตุ ผู้อำนวยการเหตุฉุกเฉิน ประเมินสถานการณ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทีม ERT และ จป.วิชาชีพ พบว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยทีม ERT เข้าระงับเหตุโดยปิดวาล์วถังแก๊ส LPG ที่รั่วไหล พร้อมควบคุมพื้นที่บริเวณโดยรอบโรงเก็บแก๊ส LPG ให้ปราศจากประกายไฟ
8) ผู้อำนวยการควบคุมเหตุฉุกเฉิน ประกาศแจ้งให้พนักงานทราบ สามารถระงับเหตุแก๊ส LPG รั่วได้
หมายเหตุ : กรณีไม่สามารถระงับเหตุได้เอง ผอ.ควบคุมเหตุฉุกเฉินจะใช้ แผนฉุกเฉินระดับที่ 2
แจ้งให้พนักงานอพยพไปรวมพลที่จุดรวมพลฉุกเฉินบริเวณสนามหญ้าด้านหน้าสำนักงาน โดยได้กำหนดทีมอพยพพร้อมเส้นทางหนีไฟดังนี้
พื้นที่ หัวหน้าทีมอพยพหนีไฟ ผู้ช่วยหัวหน้าทีมอพยพหนีไฟ สมาชิกในทีมอพยพหนีไฟ เส้นทางอพยพหนีไฟ
สำนักงาน คุณวงศ์วริศ คุณพรทิพย์ พนักงาน ,ผู้บริหาร ที่ปฏิบัติงานในสำนักงาน ประตูด้านหน้าสำนักงาน
ผลิต1 / ห้องบด คุณวีระพงศ์ คุณนิรุชา ,คุณปัญญา ,
คุณนิรัตน์ ,คุณภานุกูล ,คุณแววตา ,คุณเลย ผลิต 1 และห้องบด ประตูด้านข้างอาคารผลิต 1
ซ่อมบำรุง คุณสุภี คุณ ฤทธี ซ่อมบำรุง ประตูด้านข้างอาคารผลิต 1
โยธา คุณสุชาติ คุณไกรลาศ ห้องโยธา ทางออกด้านข้างอาคาร 1
แผนกควบคุมคุณภาพ คุณชัยมงคล คุณจักรกฤษ ,
คุณพวงมาลัย ห้อง QC ประตูทางออกห้อง QC
วางแผนการผลิต
ห้อง MIX คุณประเสริฐ คุณสนอง , คุณภูวดล ห้องบด และ ห้องMIX ประตูทางออกห้อง MIX และห้องบด
คลังสินค้า FG ( ซิลค์สกรีนเดิม ) คุณเฉลิมพงษ์ คุณประวัตร
คลังสินค้า FG ห้องซิลด์สกรีนเดิม ประตูทางออกคลังสินค้า FG ห้องซิลด์
สกรีนเดิม
ผลิต 2 พ่นสี คุณอุทิศ คุณมนูญ ห้องพ่นสี และ office
ผลิต2 ประตูทางออกห้องพ่น และทางออกอาคารผลิต 2
คลังวัตถุดิบ คุณศุภากร คุณสุวิสุทธิ์ คลังวัตถุดิบ ประตูทางออกคลังสินวัตถุดิบ
คลังสินค้า FG / line ประกอบ Panasonics คุณเฉลิมพงษ์ คุณ ประวัตร คลังสินค้า FG ประตูทางออกคลังสินค้า FG
วิศวกรรม คุณเอนก คุณเจนณรงค์ , คุณกัญญา พนักงานแผนกวิศวกรรม ประตูทางออกห้องวิศวกรรม
หมายเหตุ สมาชิกในทีมอพยพหนีไฟคือพนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่แผนกนั้น ๆ
หน้าที่ในทีมอพยพหนีไฟ
*หัวหน้าทีมอพยพหนีไฟ มีหน้าที่นำสมาชิกในทีมอพยพหนีไฟ อพยพตามเส้นทางหนีไฟที่กำหนด (ในกรณีเส้นทางหนีไฟที่กำหนด เกิดควันปกคลุมมาก ให้หัวหน้าทีมอพยพหนีไฟ ตัดสินใจใช้เส้นทางอพยพหนีไฟที่ปลอดภัยแทน )
*ผู้ช่วยหัวหน้าทีมอพยพหนีไฟ มีหน้าที่รั้งท้ายการอพยพหนีไฟ คอยให้ความช่วยเหลือเคลื่อนย้ายเพื่อนสมาชิกในทีมกรณีบาดเจ็บจากเหตุการณ์เพลิงไหม้
*สมาชิกในทีมอพยพหนีไฟ มีหน้าที่อพยพหนีไฟตามหัวหน้าทีมอพยพหนีไฟ และตามเส้นทางหนีไฟที่กำหนด
9)หลังจากอพยพไปรวมพลที่จุดรวมพลฉุกเฉิน เรียบร้อยให้หัวหน้างาน ตรวจเช็ครายชื่อพนักงานในแผนก โดยใช้ใบเช็คชื่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินที่ป้อมยาม เมื่อตรวจเช็คจำนวนพนักงานเรียบร้อยให้รายงานผลการตรวจเช็คต่อผู้อำนวยการเหตุฉุกเฉิน ทราบโดยแจ้งดังนี้
- จำนวนพนักงานในหน่วยงาน ครบหรือไม่
- รายงานจำนวนพนักงานที่บาดเจ็บ
10 ) เจ้าหน้าที่สื่อสารคอยรับคำสั่งจากผู้อำนวยการเหตุฉุกเฉิน เพื่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก ดังรายชื่อหน่วยงาน และเบอร์โทรศัพท์ตามตาราง
หมายเลขโทรศัพท์สถานที่ติดต่อและแจ้งเหตุฉุกเฉิน
รายละเอียด/สถานที่ เบอร์โทรศัพท์ กด โทรออก
แจ้งเหตุด่วน , เหตุร้าย 191 *001
แจ้งดับเพลิง 199 *002
สถานีตำรวจภูธร อ.บางพลี 02-7403211 , 02-7403271 , 02-7403274 ,
02-7403275 , 02-7403276 *003
*004
องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่
( ดับเพลิง ) 02-3373115 , 02-3373116 ต่อ 203 *005
*006
โรงพยาบาลบางพลี 02-7523895
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 1 02-3166198 , 023166199 *007 , *008
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 02-7389900 – 9
การไฟฟ้าบางพลี 02-3162400 , 02-3167583
การประปาพระโขนง 02-3310028 , 02-3110995 , 02-3110853 ,
02-3110818
จส.100 1137 หรือ 02-7119151-8
ผู้บริหาร / เจ้าหน้าที่ บริษัท สหะเจริญโลหะพลาสติกภัณฑ์ จำกัด
คุณอนุรักษ์ แสงเจริญวนากุล 081-8686484 *009
คุณพงษ์ศักดิ์ ศุภพิพัฒน์ 081-9059801 *010
คุณกมลทิพย์ วิมลประภาพร 081-6194382
คุณไมตรี ขวัญเจริญ 086-8850522 *011
11) ทีมปฐมพยาบาล ประสานงานกับทีมควบคุมการจราจรและเคลื่อนย้าย นำส่งผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ฉุกเฉิน ไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง
12) หัวหน้าทีมสื่อสารและประสานงาน เจ้าหน้าที่สื่อสารภายนอก ประจำ ณ จุดประชาสัมพันธ์กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน บริเวณโรงอาหาร
สำหรับเจ้าหน้าที่ท่านอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในแผนควบคุมภาวะฉุกเฉินกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ WE-MGT-004 และเอกสาร วิธีการปฏิบัติงานแผนระงับเหตุกรณีก๊าซ LPG รั่วไหล
WE-MGT-010
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ ....................................................... หัวหน้าวางแผนการผลิต
........................................................ หัวหน้าแผนกผลิต 1
......................................................... ผู้จัดการฝ่ายผลิต
......................................................... ผู้จัดการอาวุโส
........................................................ผู้อนุมัติแผนการฝึกซ้อมฯ
กรรมการผู้จัดการ
นายอาณัติ คำสม
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
แผนกบุคคลและธุรการ
วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ความปลอดภัยในการยกเคลื่อนย้ายของหนัก โดยมือ
ความปลอดภัยในการยกเคลื่อนย้ายของหนัก โดยมือ
1) ต้องสวมถุงมือชนิดต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัสดุที่จะทำการยก
2) ถ้ายกหนักเกินกว่าจะยกคนเดียวได้ให้เรียกคนมาช่วยมากพอที่จะยก ได้ โดยไม่ต้องฝืนออกแรงมากจนเกินกำลัง งอเข่าและคู้ลงต่ำ ใกล้ของให้ ลำตัวชิดลง ให้หลังตรงเกือบเป็นแนวดิ่งแล้วยืนขา ทั้งสองขึ้น ให้ใช้ขายกอย่าใช้หลังยก เมื่อจะวางของให้ทำวิธี ย้อนกลับตามวิธีเดิม
1) ต้องสวมถุงมือชนิดต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัสดุที่จะทำการยก
2) ถ้ายกหนักเกินกว่าจะยกคนเดียวได้ให้เรียกคนมาช่วยมากพอที่จะยก ได้ โดยไม่ต้องฝืนออกแรงมากจนเกินกำลัง งอเข่าและคู้ลงต่ำ ใกล้ของให้ ลำตัวชิดลง ให้หลังตรงเกือบเป็นแนวดิ่งแล้วยืนขา ทั้งสองขึ้น ให้ใช้ขายกอย่าใช้หลังยก เมื่อจะวางของให้ทำวิธี ย้อนกลับตามวิธีเดิม
วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553
อบรม การใช้งานรถโฟล์คลิฟท์อย่างปลอดภัย
จากการอบรม การใช้งานรถ โฟล์คลิฟท์ เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 53 ผลการสอบทั้งภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ การใช้งาน รถ โฟล์คลิฟท์ อย่างปลอดภัยออกแล้ว มีผู้เข้าร่วมทดสอบ การใช้งาน รถ โฟล์คลิฟท์ ทั้งหมด 13 คน มีผู้สอบผ่าน 9 คน จาก 13 คน การอบรมทดสอบในครั้งนี้พนักงานที่สอบผ่านเป็นพนักงานแผนกที่ไม่ค่อยได้ใช้ รถโฟล์คลิฟท์ แต่แผนกที่ใช้ รถโฟล์คลิฟท์ เป็นประจำกลับสอบไม่ผ่าน จากการสังเกตการณ์ทดสอบ รถโฟล์คลิฟท์ ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 พนักงานที่ขับรถโฟล์คลิฟท์ เป็นประจำ เพื่อนๆ ในรุ่น จะให้ทดสอบขับรถ โฟล์คลิฟท์ ทีหลังเพื่อน อาจเป็นสาเหตุที่พนักงานผู้ที่ใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ เป็นประจำสอบไม่ผ่านเพราะเกิดความประหม่าในการทดสอบ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทางบริษัท บางกอกมอเตอร์อินดัสเทรีล จำกัดเปิดโอกาสให้สอบซ่อมได้ 1 ครั้ง ให้นัดทางบริษัทฯ นัดวันทดสอบอีกครั้ง ...ตั้งใจครับเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
อบรม การใช้งานรถโฟล์คลิฟท์อย่างปลอดภัย
จากการอบรม การใช้งานรถ โฟล์คลิฟท์ เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 53 ผลการสอบทั้งภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ การใช้งาน รถ โฟล์คลิฟท์ อย่างปลอดภัยออกแล้ว มีผู้เข้าร่วมทดสอบ การใช้งาน รถ โฟล์คลิฟท์ ทั้งหมด 13 คน มีผู้สอบผ่าน 9 คน จาก 13 คน การอบรมทดสอบในครั้งนี้พนักงานที่สอบผ่านเป็นพนักงานแผนกที่ไม่ค่อยได้ใช้ รถโฟล์คลิฟท์ แต่แผนกที่ใช้ รถโฟล์คลิฟท์ เป็นประจำกลับสอบไม่ผ่าน จากวันที่ผมสังเกตการณ์ทดสอบ รถโฟล์คลิฟท์ ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 พนักงานที่ขับรถโฟล์คลิฟท์ เป็นประจำเพื่อนจะให้ทดสอบขับรถ โฟล์คลิฟท์ ทีหลังเพื่อนที่ทดสอบการขับ รถโฟล์คลิฟท์ อาจเป็นสาเหตุที่พนักงานผู้ที่ใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ เป็นประจำสอบไม่ผ่านเพราะเกิดความประหม่าในการทดสอบ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ปิดหนทางการทดสอบในครั้งนี้ ทางบริษัท บางกอกมอเตอร์อินดัสเทรีล จำกัด ให้นัดวันทดสอบซ่อมแก้ตัวได้ 1 ครั้ง ...ตั้งใจครับเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
เตือนภัยผู้ใช้รถยนต์ Toyota Vigo และ D-max
ขณะนี้ พวก มิจฉาชีพ มันมาแนวใหม่ จากสมัยก่อนขโมยยางอะไหล่ หรือไม่ก็แกะโลโก้ ยี่ห้อ หรือรุ่นรถ ตอนนี้แถวสุพรรณฯและจังหวัดใกล้เคียงกำลังระบาดหนักคือขโมยถอด อุปกรณ์เซนเซอร์ไมล์(เดิมเรียกสายไมล์วัดความเร็วรถยนต์) ผมพึ่งโดนไปเมื่อ 5 มีนา 53 (สะเดาะเคราะห์วันเกิด) ผมไปทำธุระแถวโลตัสสุพรรณฯก็จอดรถไว้ในที่ฝากรถ(หลังร้านปะยางข้างโลตัส) ตั้งแต่บ่าย จนถึง 5 ทุ่ม ก็ขับรถจะกลับบ้าน สังเกตเห็นว่าเข็มไมล์ ไม่ขึ้น ก็คิดว่าฟิวส์คงขาด เพราะเครื่องยนต์ก็ยังทำงานปกติ ขณะนั้นเห็นว่าดึกแล้วก็เลยขับรถกลับบ้านที่ อยุธยา พอเช้าวันรุ่งขึ้นก็รีบเอารถเข้าศูนย์ช่างก็ตรวจสอบจึงรู้ว่าอุปกรณ์เซนเซอร์ไมล์ถูกขโมยถอดและตัดสายไฟเอาไป ไอ้ตัวที่มันถอดออกไป ราคา ตัวเซนเซอร์ไมล์2800+สายไฟ6800+ค่าแรง ก็ไม่เท่าไหร่ แค่หมื่น ต้น ๆ แต่ที่หนักกว่านั้นคือ เกียร์พังครับเพราะตัวเซนเซอร์ไมล์ที่ว่ามันอยู่ติดกับกระปุกเกียร์ใต้ท้องรถ เมื่อถูกถอดออกไป ทำให้น้ำมันเกียร์ไหลพุ่งออกหมด น้ำมันเกียร์แห้ง ผมต้องซ่อมเกียร์ไปครึ่งลูก เบ็ดเสร็จ แล้ว8หมืน7 ก็ยังดีมีประกันชั้นหนึ่ง(อันสุดห่วยไม่ยากบอกว่าบริษัทอะไรขึ้นต้นด้วย ตัว L ...ลงท้ายด้วยตัว G) ขอย้ำ! ประกันชั้นหนึ่ง ผมยังต้องออกเอง เกือบ 3 หมื่น มันบ่ายเบี่ยงหาว่าผมดันทุรังขับมาได้ไง โธ่ ก็กรู ไม่รู้นี่หว่ามันมีขโมยแบบนี้ด้วย ถ้ากรู รู้กรูจะยอมให้รถพังหรืออีกอย่างเหตุมันก็เกิดกลางดึกต่างบ้านต่างเมืองจะให้กรูทำไง ...เคราะห์ซ้ำด้ามพลอยเหตุเกิดคืนวันที่ 5 เช้าวันที่6 เอารถเข้าศูนย์แล้วโทรหาประกัน มันมาถึงรถ บ่ายวันที่ 9 (บริการทุกระดับประทับใจจริงจิ้ง)ช่างก็ไม่กล้าทำอะไรเพราะต้องรอประกันอนุมัติก่อน เท่านั้นยังไม่พอ เคราะห์ซ้ำด้ามเพชร บ.ตรีเพชรหยุดงานเพราะไอ้พวกเสื้อแดงไปเพ่นผ่านหน้าโรงงาน เลยสั่งอะไหล่ไม่ได้ สรุปแล้ว เสียเวลาไป 17 วัน
ผมมาทราบทีหลังคืนเดียวกันนั้นเพื่อนผมอีกคนก็โดนเหมือนกัน เขาจอดรถในลานจอดรถของโลตัสสุ1000แท้ๆ ห่างจากรถผม 200 เมตร เขาใช้ Vego เขาพอรู้มาบ้างแล้วว่ามีขโมยแบบนี้ก็ระวังเหมือนกันก็ยังโดน เขาก็ค่อย ๆ ขับช้า ๆ กลับบ้านที่บางปลาม้า ซึ้งอยู่ไม่ไกลรถเลยไม่เป็นไรมาก เขาก็ไปซื้ออะไหล่เชียงกงมาใส่เอง (ไม่รู้ซื้อของตัวเองหรือเปล่า)หมดไป 8 พันกว่า ก็ไม่รู้ไอ้ที่มันขโมยไปจะขายได้กี่ร้อย แต่กรูต้องซ่อมหมดเป็นหมื่น หรือว่ามีใบสั่ง!!
ผมไปแจ้งความกับตำรวจ(ก็ได้แต่บันทึกประจำวัน) ตำรวจได้แต่บอก ฮะฮะ ไอ้น้องเอยสบายใจได้เองมีพวกเยอะแยะ วันก่อนที่โรง'บาลสุ1000 ก็โดนไป 5-6 คัน ผมจึงตรัสรู้ว่าไม่ได้มีแต่กรูคนเดียวเท่านั้น เลยลืมถามตำรวจว่าแล้วพี่ไม่มีมาตรการป้องกันเตือนภัยอะไรเลยหรือนอกจากตั้งด่านตั้งโตะใต้สะพานทุกวัน
ขอฝากบอกเตือนภัยให้รู้ทั่วกัน ไม่รู้ว่ายี่ห้ออื่นๆโดนด้วยหรือเปล่า
ข้อสังเกต/วิธีปฏิบัติเมื่อโดน
- หากรถวิ่งแล้วเข็มไมล์ไม่ขึ้น ท่านอาจโดนเข้าแล้ว ให้จอดรถลงมาดูใต้ท้องรถ ตรงปลายสุดของกระปุกเกียร์(D-Max อยู่ด้านคนขับVego อยู่อีกฟากหนึ่ง) ตัวไม่ใหญ่ไม่ยาว เท่าไอ้นั่น..คือหมายถึงประมาณหัวแม่เท้าผู้ใหญ่(กำนันไม่เกี่ยว) ถ้ายังอยู่แสดงว่าเป็นที่สาเหตุอื่น แต่ถ้าไม่อยู่เห็นแต่รูโบ๋ๆเหมือนไอ้นั่น แล้วมีน้ำเยิ้มออกมา หมายถึงนำมันเกียร์นะครับ แสดงว่างานเข้าแล้วให้หาที่จอดรถที่ปลอดภัย โทรหาใครที่เชื่อถือได้ มาลากจูงรถเข้าศูนย์หรืออู่ซ่อมซะราคาไม่ถึง2หมื่น อย่าดันทุรังขับเหมือนผม ปาเข้าไปเกือบแสน หรือถ้าจำเป็นต้องขับก็อย่าขับเร็ว หรือไกลมาก
แนวทางป้องกัน
-ไม่จอดรถในที่เปลี่ยวไกลหูไกลตา(ควรให้ตามานั่งเฝ้า)โดยเฉพาะแถวสุ1000 ส่งสัยไอ้ตัวใหญ่มันอยู่สุ1000
-ควรจอดรคร่อมที่ชื้นแฉะ หรือ กองอุจาระสุนัข (พอมันมุดใต้ท้องรถไปก็จะได้เปื้อนขี้หมาโดนบ่อยๆมันก็เข็ดไปเอง)
-แอบอยู่ในรถพอมันมุดไปถอดก็ออกรถให้เหยียบหัว(แม่เท้า)แม่มเลยอย่าไปเหยียบหัวอื่นเดียวเราติดคุก
-หาน็อตอื่นมาเปลี่ยน(มันมีน็อตแค่ตัวเดียว) เช่นน็อต หกเหลี่ยมแล้วหาซีเมนต์อุดหัวน็อตซะ หรือเจียร์ตะไบหัวน็อตให้กลมมนถอดลำบากหน่อยซึ่งจริงๆแล้วตลอดอายุรถก็คงไม่ได้ถอดอยู่แล้ว
-ให้ช่างหรือทำเองหาเหล็กฉากเหล็กแบนเจาะรูแล้วหาที่ยึดกะแท่นเกียร์ให้มันบังหัวน็อตซะอย่างน้อยให้ขโมยมันรู้ซึ้งถึงความลำบากซะบ้าง
สุดท้ายนี้หากท่านรู้แล้วช่วยเผยแพร่ความรู้ให้เท่าทันพวกมิจฉาชีพก็ขอให้ทุกท่านปลอดภัย ส่วนไอ้หัวขโมย หากชาติหน้ามีจริงถ้ามึงเกิดเป็นชายก็อย่าให้มีกระจู๋เกิดเป็นหญิงก็ขอให้รูตัน โอมมะลึก กึก กึ๋ย! เจียดกรอย สม ออย โพง จอร เตียง หลาย เกิด เจีย โกนเปราะฮ์ มัน เมียน กะดอ เกิด เจียโกน สแร็ย มันเมียน กะนูย โอมเพียง!
จาก FW-Mail
ผมมาทราบทีหลังคืนเดียวกันนั้นเพื่อนผมอีกคนก็โดนเหมือนกัน เขาจอดรถในลานจอดรถของโลตัสสุ1000แท้ๆ ห่างจากรถผม 200 เมตร เขาใช้ Vego เขาพอรู้มาบ้างแล้วว่ามีขโมยแบบนี้ก็ระวังเหมือนกันก็ยังโดน เขาก็ค่อย ๆ ขับช้า ๆ กลับบ้านที่บางปลาม้า ซึ้งอยู่ไม่ไกลรถเลยไม่เป็นไรมาก เขาก็ไปซื้ออะไหล่เชียงกงมาใส่เอง (ไม่รู้ซื้อของตัวเองหรือเปล่า)หมดไป 8 พันกว่า ก็ไม่รู้ไอ้ที่มันขโมยไปจะขายได้กี่ร้อย แต่กรูต้องซ่อมหมดเป็นหมื่น หรือว่ามีใบสั่ง!!
ผมไปแจ้งความกับตำรวจ(ก็ได้แต่บันทึกประจำวัน) ตำรวจได้แต่บอก ฮะฮะ ไอ้น้องเอยสบายใจได้เองมีพวกเยอะแยะ วันก่อนที่โรง'บาลสุ1000 ก็โดนไป 5-6 คัน ผมจึงตรัสรู้ว่าไม่ได้มีแต่กรูคนเดียวเท่านั้น เลยลืมถามตำรวจว่าแล้วพี่ไม่มีมาตรการป้องกันเตือนภัยอะไรเลยหรือนอกจากตั้งด่านตั้งโตะใต้สะพานทุกวัน
ขอฝากบอกเตือนภัยให้รู้ทั่วกัน ไม่รู้ว่ายี่ห้ออื่นๆโดนด้วยหรือเปล่า
ข้อสังเกต/วิธีปฏิบัติเมื่อโดน
- หากรถวิ่งแล้วเข็มไมล์ไม่ขึ้น ท่านอาจโดนเข้าแล้ว ให้จอดรถลงมาดูใต้ท้องรถ ตรงปลายสุดของกระปุกเกียร์(D-Max อยู่ด้านคนขับVego อยู่อีกฟากหนึ่ง) ตัวไม่ใหญ่ไม่ยาว เท่าไอ้นั่น..คือหมายถึงประมาณหัวแม่เท้าผู้ใหญ่(กำนันไม่เกี่ยว) ถ้ายังอยู่แสดงว่าเป็นที่สาเหตุอื่น แต่ถ้าไม่อยู่เห็นแต่รูโบ๋ๆเหมือนไอ้นั่น แล้วมีน้ำเยิ้มออกมา หมายถึงนำมันเกียร์นะครับ แสดงว่างานเข้าแล้วให้หาที่จอดรถที่ปลอดภัย โทรหาใครที่เชื่อถือได้ มาลากจูงรถเข้าศูนย์หรืออู่ซ่อมซะราคาไม่ถึง2หมื่น อย่าดันทุรังขับเหมือนผม ปาเข้าไปเกือบแสน หรือถ้าจำเป็นต้องขับก็อย่าขับเร็ว หรือไกลมาก
แนวทางป้องกัน
-ไม่จอดรถในที่เปลี่ยวไกลหูไกลตา(ควรให้ตามานั่งเฝ้า)โดยเฉพาะแถวสุ1000 ส่งสัยไอ้ตัวใหญ่มันอยู่สุ1000
-ควรจอดรคร่อมที่ชื้นแฉะ หรือ กองอุจาระสุนัข (พอมันมุดใต้ท้องรถไปก็จะได้เปื้อนขี้หมาโดนบ่อยๆมันก็เข็ดไปเอง)
-แอบอยู่ในรถพอมันมุดไปถอดก็ออกรถให้เหยียบหัว(แม่เท้า)แม่มเลยอย่าไปเหยียบหัวอื่นเดียวเราติดคุก
-หาน็อตอื่นมาเปลี่ยน(มันมีน็อตแค่ตัวเดียว) เช่นน็อต หกเหลี่ยมแล้วหาซีเมนต์อุดหัวน็อตซะ หรือเจียร์ตะไบหัวน็อตให้กลมมนถอดลำบากหน่อยซึ่งจริงๆแล้วตลอดอายุรถก็คงไม่ได้ถอดอยู่แล้ว
-ให้ช่างหรือทำเองหาเหล็กฉากเหล็กแบนเจาะรูแล้วหาที่ยึดกะแท่นเกียร์ให้มันบังหัวน็อตซะอย่างน้อยให้ขโมยมันรู้ซึ้งถึงความลำบากซะบ้าง
สุดท้ายนี้หากท่านรู้แล้วช่วยเผยแพร่ความรู้ให้เท่าทันพวกมิจฉาชีพก็ขอให้ทุกท่านปลอดภัย ส่วนไอ้หัวขโมย หากชาติหน้ามีจริงถ้ามึงเกิดเป็นชายก็อย่าให้มีกระจู๋เกิดเป็นหญิงก็ขอให้รูตัน โอมมะลึก กึก กึ๋ย! เจียดกรอย สม ออย โพง จอร เตียง หลาย เกิด เจีย โกนเปราะฮ์ มัน เมียน กะดอ เกิด เจียโกน สแร็ย มันเมียน กะนูย โอมเพียง!
จาก FW-Mail
วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
Audit CCCF
วันนี้ถูก Audit กิจกรรม CCCF จาก IAT ผลการตรวจตามที่ Auditor คุณวราภรณ์ IAT แจ้งมาก็เป็นที่น่าพอใจ แต่ยังมีหลายข้อที่ต้องดำเนินการแก้ไขตามที่ คุณวราภรณ์แจ้งมา ดังนี้
1) การรายงานอุบัติเหตุ ทาง Auditor แจ้งขอเอกสารเพิ่มเติม สถิติอุบัติเหตุส่ง IATตั้งแต่เดือน มกราคม - เดือน พฤษภาคม
2) โครงสร้างคณะกรรมการ CCCF ให้ระบุหน้าที่แต่ละท่านให้ชัดเจน แยกเป็นหน้าที่ประธาน คณะกรรมการ Safety Member
3) มีการค้นหาอันตราย 2 ครั้งต่อปี แต่ยังไม่ได้ทำ ขอให้ดำเนินการ และสรุปลง ฟอร์ม B และดำเนินการแก้ไขต่อไป
4) มีแผน CCCF แต่ไม่ชัดเจน ทางคุณวราภรณ์ขอให้แยกแผน CCCF ออกจากแผน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปี 2553
5) จัดให้มีแผนในการเดินตรวจความปลอดภัยโดยผู้บริหาร พร้อมสรุปรายงานในการเดินตรวจให้ตรวจสอบได้
6) ขาดแผนการประชุมติดตามโดยผู้บริหาร / แต่มีรายงานการประชุมใน คปอ.บ้าง
7) ยังไม่มีการอบรมพนักงาน เกี่ยวกับโครงการ CCCF ในปี 2553
8) ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ค้นหาตาม Form A อยุ่ระหว่างดำเนินการ
งานเข้าเยอะครับ .....สู้ต่อไป งานราษร์ งานหลวง
1) การรายงานอุบัติเหตุ ทาง Auditor แจ้งขอเอกสารเพิ่มเติม สถิติอุบัติเหตุส่ง IATตั้งแต่เดือน มกราคม - เดือน พฤษภาคม
2) โครงสร้างคณะกรรมการ CCCF ให้ระบุหน้าที่แต่ละท่านให้ชัดเจน แยกเป็นหน้าที่ประธาน คณะกรรมการ Safety Member
3) มีการค้นหาอันตราย 2 ครั้งต่อปี แต่ยังไม่ได้ทำ ขอให้ดำเนินการ และสรุปลง ฟอร์ม B และดำเนินการแก้ไขต่อไป
4) มีแผน CCCF แต่ไม่ชัดเจน ทางคุณวราภรณ์ขอให้แยกแผน CCCF ออกจากแผน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปี 2553
5) จัดให้มีแผนในการเดินตรวจความปลอดภัยโดยผู้บริหาร พร้อมสรุปรายงานในการเดินตรวจให้ตรวจสอบได้
6) ขาดแผนการประชุมติดตามโดยผู้บริหาร / แต่มีรายงานการประชุมใน คปอ.บ้าง
7) ยังไม่มีการอบรมพนักงาน เกี่ยวกับโครงการ CCCF ในปี 2553
8) ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ค้นหาตาม Form A อยุ่ระหว่างดำเนินการ
งานเข้าเยอะครับ .....สู้ต่อไป งานราษร์ งานหลวง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)